“โรคหลอดเลือดหัวใจ” ส่วนใหญ่จะไม่แสดงอาการในระยะเริ่มต้น แต่จะเกิด “อาการแบบเฉียบพลัน” โดยมักมีอาการในขณะที่หัวใจทำงานหนัก หรือเกิดในขณะที่หัวใจสูบฉีดโลหิตอย่างแรง เช่น ในขณะออกกำลังกาย เล่นกีฬา หรือในขณะเครียด ตื่นเต้น ตกใจ ซึ่งผู้ป่วยจะมีอาการเหนื่อย เจ็บหน้าอก ใจสั่น หัวใจเต้นเร็วผิดปกติ หรืออาจเป็นลมหมดสติ
หากเกิดอาการดังกล่าว ผู้ป่วยจะต้องได้รับการดูแลจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางอย่างเร่งด่วน เพราะหากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที จะส่งผลให้ประสิทธิภาพในการรักษาลดลง ผู้ป่วยฟื้นตัวช้า หรือในบางรายอาจเสียชีวิตแบบเฉียบพลันได้ ทั้งนี้ เราสามารถป้องกันและลดเสี่ยงโรคหลอดเลือดหัวใจ รวมถึงภาวะหัวใจวายเฉียบพลันได้ด้วยการตรวจสุขภาพหัวใจ

ตรวจสุขภาพหัวใจ ทำได้หลายวิธี
การป้องกันโรคหัวใจขาดเลือด หรือภาวะหัวใจวายเฉียบพลันทำได้โดยการเฝ้าระวังและการตรวจสุขภาพที่คัดกรองเจาะลึกเฉพาะทาง โดยเฉพาะในกลุ่มที่มีปัจจัยเสี่ยงของโรค ซึ่งการตรวจสุขภาพหัวใจ สามารถทำได้หลายวิธี เช่น
1. การตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียง Echocardiography
เป็นการวัดประสิทธิภาพการทำงานของหัวใจ เช่น การบีบตัวของกล้ามเนื้อหัวใจ ขนาดของห้องหัวใจ การไหลเวียนเลือดในหัวใจ การทำงานของลิ้นหัวใจ และดูสภาพของหลอดเลือด2. การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจขณะออกกำลังกาย Exercise Stress Test
ผู้รับการตรวจจะเดินบนสายพานหรือปั่นจักรยาน เพื่อดูการตอบสนองที่ผิดปกติของหัวใจ อย่างอาการหายใจลำบาก เจ็บแน่นหน้าอก หัวใจเต้นผิดปกติ หรือมีการเปลี่ยนแปลงของคลื่นไฟฟ้าหัวใจที่ผิดปกติ ซึ่งจะบ่งชี้ได้ว่ามีการขาดเลือดไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจจากสาเหตุใด3. การตรวจหาปริมาณแคลเซียมในหลอดเลือดหัวใจ CT Calcium Score
คือการตรวจหาปริมาณแคลเซียมหรือหินปูนที่เกาะภายในผนังหลอดเลือดแดง โดยใช้เครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ความเร็วสูง (CT Scan) ที่มีความคมชัด เพื่อประเมินความเสี่ยงภาวะหลอดเลือดหัวใจตีบฉับพลัน4. การตรวจหลอดเลือดหัวใจด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ความเร็วสูง CTA (CT Scan 160 Slice)
เป็นการตรวจที่ให้ภาพถึง 160 ภาพต่อการหมุน 1 รอบ (360 องศา) จึงมีความละเอียดสูง มีความแม่นยำและชัดเจน ทำให้แพทย์ประเมินได้ว่า ผู้เข้าการตรวจมีหลอดเลือดหัวใจตีบ-ตันมากน้อยเพียงใด โดยสามารถเห็นระบบเส้นเลือดของหัวใจทั้งหมด สามารถเห็นความผิดปกติของหลอดเลือดหัวใจที่เป็นมาตั้งแต่กำเนิด รวมถึงใช้ติดตามผลการรักษาหลังการผ่าตัดหลอดเลือดหัวใจ หรือการขยายหลอดเลือดหัวใจด้วยบอลลูน ได้อีกด้วย เช็กให้ชัด... ความเสี่ยงโรคหลอดเลือดหัวใจตีบด้วยเทคโนโลยี CTA (Coronary CT Angiography)
- ผลตรวจมีความแม่นยำ ภาพที่ได้มีความละเอียดคมชัด
- ปลอดภัยไม่เจ็บขณะตรวจ
- ไม่ต้องนอนพักฟื้นที่โรงพยาบาล
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
ศูนย์หัวใจ อาคาร 5 ชั้น 2
โรงพยาบาลเปาโล โชคชัย 4
โทร. 02-514-4141 ต่อ 1100, 1101
.jpg)